ข่าวปลอม! กองสลาก เปิดเผย เลขรางวัล งวด 16/5/65

ข่าวปลอม! กองสลาก เปิดเผย เลขรางวัล งวด 16/5/65

ข่าวที่ว่าทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือกองสลากทำการเปิดเผย เลขรางวัล งวด ประจำวันที่ 16/5/65 อย่างลับ ๆ นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เลขรางวัล งวด 16/5/65 – (10 พ.ค. 2565) ตามที่มีการเผยแพร่ข้อความบนสื่อออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเผยเลขลับเฉพาะ งวดวันที่ 16 พ.ค. 65 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลที่ปรากฏดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความโดยระบุว่า เลขลับเฉพาะ วงใน งวด16/5/65 

ทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า มีการนำตราสัญลักษณ์ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปใช้โดยมิได้รับอนุญาต โดยที่การออกรางวัลของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 ที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน และไม่มีผู้ใดสามารถทราบผลรางวัลล่วงหน้าได้

ซึ่งพฤติกรรมการส่งข้อมูลว่า สามารถให้เลขที่ถูกรางวัลได้นั้นไม่เป็นความจริง จึงขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพที่ส่งจดหมายหลอกลวงหรือแอบอ้างผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียว่าสามารถให้ตัวเลขที่ถูกรางวัลได้ ทั้งนี้สำนักงานฯ ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจาก ทางสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.glo.or.th หรือโทร. 02 5289999

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : มีการนำตราสัญลักษณ์ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปใช้โดยมิได้รับอนุญาต โดยที่การออกรางวัลของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐาน ISO 9001:2015 ที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน และไม่มีผู้ใดสามารถทราบผลรางวัลล่วงหน้าได้

ครม. เห็นชอบ มาตรการ REIT buy-back – มาตรการภาษีในการซื้ออสังหาคืน

ครม. มีมติเห็นชอบในการดำเนินการ มาตรการ REIT buy-back – มาตรการด้านภาษี และค่าธรรมเนียมสำหรับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบซื้อคืน

มาตรการ REIT buy-back – (10 พ.ค. 2565) นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน (มาตรการฯ REIT buy-back) เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID–19

โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) มาตรการด้านภาษี โดยกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการขายทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน (REIT buy-back) ซึ่งลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายทรัพย์สินมีภาระผูกพันในการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวคืน ซึ่งได้กระทำภายใน 2 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ

ทรัสตีของกอง REIT buy-back สำหรับการขายทรัพย์สินคืนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้กระทำตามข้อ 1.1) ซึ่งได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ซื้อทรัพย์สินจากเจ้าของเดิม

ทั้งนี้ เฉพาะการขายทรัพย์สินคืนที่เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด

และต้องเป็นไปตามและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด โดยในกรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ให้สิทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีสิ้นสุดลง และต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ (ถ้ามี)

2) มาตรการด้านค่าธรรมเนียม โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีดังนี้

เจ้าของเดิมโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ทรัสตีของกอง REIT buy-back ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยใช้บังคับ

ทรัสตีของกอง REIT buy-back โอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมภายใน 5 ปี นับแต่วันที่เจ้าของเดิมโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ทรัสตีของกอง REIT buy-back

ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรการข้างต้นจะมีการดำเนินการโดย (1) การตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. จำนวน 1 ฉบับ และ (2) การออกประกาศกระทรวงมหาดไทยตามประมวลกฎหมายที่ดินและตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด รวม 2 ฉบับ

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป